วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเพณีแห่เทียนพรรษา




ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน



การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน



ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ



ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น



ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์



ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ



ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน



พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน



นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก



กำหนดการจัดงาน

จัดขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม ของทุกปี



สถานที่จัดงาน

กิจกรรมหลักๆ จะจัดขึ้นบริเวณทุ่งศรีเมือง ส่วนกิจกรรมพิเศษอื่นๆ จะจัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ภายในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

วัฒนธรรม ประเพณี



ประเพณียี่เป็ง
ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง ปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



ประเพณีลอยโคม
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว


ประเพณีแห่สลุงหลวง
ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปางที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงานจะมีการแห่สลุงหลวงหรือขันน้ำตามประเพณีโบราณไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

ประเพณีแข่งเรือล้านนา
ประเพณีแข่งเรือล้านนาจะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะ หลังเทศกาลออกพรรษา ประมาณปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน นอกจากเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อเชื่อม ความสามัคคีแล้วยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี การแข่งเรือแบบล้านนาในงานจะมีการแข่งขันเรือหลายประเภทคือ เรือใหญ่ เรือกลาง และเรือสวยงาม โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องแต่งหัวเรือเป็นรูปพญานาค เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากนั้นจะมีการตีฆ้อง ล่องน่าน-ตีตานแข่งเรือ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัด


ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ) ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลางชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้น ชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อซึ่งชาวลำพูนเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์


ประเพณีบูชาอินทขีล
เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลังเพื่อเป็นการสรงน้ำเสาหลักเมืองและสรงน้ำถวายพระเจ้าฝนแสนห่าองค์ประธานในพิธีและเพื่อเป็นการสร้างขัวญกำลังใจของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่เดิมในยามบ่ายจะพากันเตรียมดอกไม้เครื่องบูชามาจัดเรียงใส่ในตะกร้าเพื่อทำการใส่ขันดอกหรือการถวายดอกไม้บูชาอินทขีลที่บริเวณหน้าวิหารของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจะประดิษฐาน พระเจ้าฝนแสนห่า ไว้ให้ประชาชนบูชาเป็นการชั่วคราวหลัง จากการแห่ไปตามถนนในเมืองเชียงใหม่ก่อนกลับวัดเจดีย์หลวงเพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ ใส่ขันดอกเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีมหรสพสมโภชเช่นเดียวกับงานบุญอื่น ๆ


ประเพณีเลี้ยงผี
เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ จนถึงเดือน 8 ของทุกๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลี้ยงผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง"
วัฒนธรรมประเพณีพม่าในล้านนาไทย

ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนา ไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลาย วัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่างๆ นิยมสร้างตาม ประเพณีพม่า ด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่างๆ ในล้านนาไทยทั่วไป การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีนิยมของพม่า อย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า ซึ่งคนพม่าถือว่าเด็กผู้ชายของพม่าจะถือว่าเป็น ฟ หนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คง 1 กระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอา 4 พุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามา เผยแพร่ในล้านนาไทย แต่ 4 สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่

ลักษณะการละเล่นพื้นเมืองของแต่ละภาค

ภาคกลาง

การละเล่นพื้นเมืองส่วนมากจะออกมาในรูปแบบของเพลงพื้นเมือง ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
เพลงที่นิยมเล่นในน้ำ ได้แก่ เพลงเรือ เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน และเพลงร่อยพรรษา ฯลฯ

เพลงที่นิยมเล่นในหน้าเกี่ยวข้าว นวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงโอก เพลงพานฟาง เพลงสงคอลำพวน และเพลงชักกระดาน ฯลฯ

เพลงที่นิยมเล่นในหน้าสงกรานต์ และใกล้เคียง ได้แก่ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงสงกรานต์ (ตั้งขึ้นพิเศษ) เพลงยั่ว เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงเหย่ย เพลงคล้องช้าง เพลงช้าเจ้าโลม เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงชักเย่อ เพลงเข้าผี เพลงแห่นางแมว เพลงใจหวัง และเพลงบวชนาค ฯลฯ

เพลงที่นิยมร้องทั่วไปไม่จำกัดเทศกาล ได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงไก่ป่า เพลงพาดควาย เพลงขอทาน เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง ลำตัด เพลงระบำบ้านนา เพลงแอ่วเคล้วซอ และเพลงอีแซว ฯลฯ ส่วนการละเล่นพื้นเมืองในรูปแบบของการแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง ได้แก่ รำโทน รำเถิดเทิง รำวง และระบำต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในแต่ละสถานที่

ภาคเหนือ

การละเล่นพื้นเมืองของภาคเหนือในรูปแบบของเพลงพื้นเมืองนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

บทขับขานของพระภิกษุในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา (ซึ่งผสมผสานกับพราหมณ์ และผี) เช่น เทศน์ อื่อลำนำ ใส่กาพย์ สวด ทั้ง 4 อย่างนี้ถือเป็นบทเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมโดยตรง มิได้นำมาขับร้องกันเล่นๆ

บทขับร้องของประชาชนชาวบ้านทั่วไป เช่น ค่ำ (ช่ำ) จ๊อย (ช้อย)

การละเล่นพื้นเมืองของภาคเหนือในรูปแบบของการแสดงพื้นเมือง ซึ่งมักเกี่ยวกับการฟ้อนหรือการร่ายรำนั้น แบ่ง 5 ประเภทคือ



ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรม นับเป็นการฟ้อนที่เก่าแก่มาช้านาน ได้แก่ ฟ้อนผีมดผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง ฯลฯ

ฟ้อนแบบเมือง เป็นศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของคนเมืองหรือ "ชาวไทยยวน" (ซึ่งเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นในแว่นแคว้นที่เรียกว่า "ลานนา") ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดชัย และฟ้อนสาวไหม ฯลฯ

ฟ้อนแบบม่าน คำว่า "ม่าน" ในภาษาลานนาหมายถึง "พม่า" การฟ้อนประเภทนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่ากับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฯลฯ

ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหย่ เป็นการฟ้อนตลอดจนการแสดงที่ได้รับอิทธิพลหรือต้นเค้ามาจากศิลปการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กิ่งกะหร่า (กินนรา) หรือฟ้อนนางนำ กำเบ้อคง มองเซิง ฟ้อนไต (ไทยใหญ่) และฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ

ฟ้อนที่ปรากฎในบทละคร การฟ้อนประเภทนี้เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนรั และฟ้อนลาวดวงเดือน ฯลฯ

ภาคใต้

การละเล่นพื้นเมือง ของภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ



แบ่งตามรูปแบบการเล่น แยกออกเป็น 3 ลักษณะคือ

เพลงพื้นเมือง แบ่งตามโอกาสที่เล่นได้เป็น2 ชนิด คือ เพลงที่ใช้เล่นตามฤดูกาลหรือเทศกาล ได้แก่ เพลงเรือ เพลงลา เพลงบอก สวดมาลัย เพลงกล่อมนาค และคำตัก ฯลฯ และเพลงที่ใช้เล่นได้ทุกโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยงหรือหล้อแหง็ง และลิเกฮูลู ฯลฯ

ระบำพื้นเมืองที่ไม่สามารถแยกประเภทได้มีหลายชนิด แต่ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ รองเง็ง ซัมเปง ดาระ และสิละ (หรือซีละ) ฯลฯ

ละครชาวบ้านที่ไม่สามารถจำแนกออกได้ ที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ หนังตะลุง วายังเซียม มโนห์รา มะโย่ง และลิเกป่า ฯลฯ

แบ่งตามกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม แยกเป็น 3 ลักษณะ คือ

การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยพุทธ ได้แก่ กาหลอ คำตัก เพลงกล่อมนาค เพลงเรือ เพลงนา สวดมาลัย โต๊ะครึม หนังตะลุง และมโนห์รา ฯลฯ

การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยมุสลิม ได้แก่ ลิเกฮูลู เพลงตันหยง รองเง็ง ซัมเปง ดาระ และวายังเซียม ฯลฯ

การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยพุทธ และไทยมุสลิม ได้แก่ ลิเกป่า

ภาคอีสาน

ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2กลุ่ม คือ



กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน

กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม"

กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช"

ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ



เพลงพิธีกรรม

กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ

กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง

เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน

กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า

กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช

ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฎอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่



การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงต๊อง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ

การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี

การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย

การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช

การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ

การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเซียงข้อง ฯลฯ

การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ

การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ





ชื่อ - สกุล:ศุกลวัฒน์ คณารศ
ชื่อเล่นเวียร์
วันเกิด:18 เมษายน 2528
 สถานะ:โสด
 อายุ:25 ปี
ส่วนสูง: 184 ซม.
น้ำหนัก:75 กก.
ประเภทดารา:นักแสดง
การศึกษา อนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 6 ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นปัจจุบันศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมโยธา ปี 4มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 งานอดิเรก เล่นบาสเก็ตบอล
 สิ่งที่ชื่นชอบ ชอบสี ขาว น้ำเงิน ดำ
สไตล์การแต่งตัว กางเกงยีนส์ เสื้อยืดคอกลมบางทีก็คอวี รองเท้ากีฬา
ศิลปินที่ชอบ นักร้องที่ชอบ พั้นช์ วรกาญจน์นักร้องชายที่ชอบ พลพลพลกองเส็ง
นักแสดงที่ชอบ ปิยธิดา วรมุสิก
นักแสดงชายที่ชอบ ฉัตรชัย เปล่งพานิชย์
นักการเมืองที่ชอบ ชวน หลีกภัย
นิสัยส่วนตัว ความสามารถพิเศษ ร้องเพลงไทยสากลและลูกทุ่ง
คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่าไปคิดถึงสิ่งที่
ที่อยู่ 668/34 หมู่บ้านเขาไท ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
อาหารที่ชอบ ผัดตับต้นหอม
ผลไม้ที่ชอบ สัปปะรด
ของหวาน ลอดช่องสิงคโปร์

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเพณีไหลเรือไฟ


ความสำคัญ


เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย
เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม
เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก
เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
พิธีกรรม

นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
          อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

ประเพณีการบวช




ความสำคัญ


การบวช ชาวเพชรบูรณ์นิยมให้ลูกหลาน (ชาย) บวชเรียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การบวชนั้นจะต้องบวชอย่างน้อย ๑ พรรษา จึงลาสิกขาได้ ถือว่าเป็นคนโดยสมบูรณ์ จะทำกิจการใดก็จะมีผู้คนเชื่อถือ ชายหนุ่มถ้าจะแต่งงานมีครอบครัวจะต้องเข้าพิธีบวชก่อน

            ชายหนุ่มที่มีอายุครบบวช (๒๐ ปี) จะต้องเข้าวัดเพื่อท่องหนังสือเจ็ดตำนาน คำขานนาค ฯลฯ ให้คล่องก่อนที่จะเข้าพิธีบวชจะต้องถือกรวยดอกไม้ ธูป เทียน ไปบอกกล่าวและขอขมาพร้อมขอพรจากญาติผู้ใหญ่
           ก่อนถึงวันบวช ๑ วัน ตอนบ่ายหรือตอนเย็นจะมีการแห่นาค โดยเจ้าภาพจะประดับช้าง หรือม้า หรือเกวียน หรือพาหนะอื่น ๆ ให้สวยงามแล้วให้นาคนั่งแห่ไปตามหมู่บ้านใกล้เคียงแล้วกลับมายังวัดเพื่อทำขวัญนาค
          วันบวช ผู้บวชจะเข้าไปขออุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับเครื่องอัฐบริขาร หลังจากเสร็จพิธีก็จะมีการถวายเพลเลี้ยงพระ

           การบวชถือได้ว่า ผู้บวชจะได้ศึกษาถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
           ผู้ที่บวชเรียนแล้วจะเป็นผู้ที่มีความอดทน อดกลั้น และเข้าใจโลกธรรม ทำให้เป็นผู้ที่รู้คิดมีสติมั่น

ประเพณีกรวยสลาก





ความสำคัญ


           เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ทุกบ้านจะหยุดงานเพื่อมาร่วมกันเตรียมงาน เตรียมกองสลาก เตรียมจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน
           เมื่อได้กำหนดวันกรวยสลากแล้ว ทางวัดจะแจ้งให้ผู้มีจิตศรัทธาทราบเพื่อจัดเตรียมอาหารสิ่งของต่าง ๆ ที่พระภิกษุจำเป็นต้องใช้ อาจทำเป็นบุคคลหรือคณะก็ได้ แต่ละกอง สิ่งของที่เตรียมมานี้จะทำภาชนะบรรจุอย่างสวยงาม ประดับตกแต่งเป็นซุ้มแบบเรือนไทย เรือนยอดหรือดอกบัว ตั้งเรียงรายรอบพระอุโบสถ วันนี้ถือว่าเป็นวันสำคัญทางวัดจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาในงานนี้อย่างเต็มที่ บุคคลที่จะได้จับสลากก็คือ พระภิกษุที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เมื่อมาพร้อมกันแล้วก็เข้าพระอุโบสถทำพิธีสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลของพุทธศาสนิกชน ต่อจากนั้นก็เริ่มจับสลาก พระภิกษุรูปใดจับได้หมายเลขหรือชื่อที่ตรงกับซุ้มกรวยสลากหมายเลขหรือชื่อนั้นก็ไปรับถวายพร้อมด้วยอนุโมทนา เจ้าของกรวยสลากก็ช่วยกันหาซุ้มกรวยสลากใส่รถแห่ไปส่งถึงวัดอย่างสนุกสนาน